แชร์

การเข้าเล่มหนังสือของงานพิมพ์

อัพเดทล่าสุด: 31 ต.ค. 2024
25 ผู้เข้าชม
การเข้าเล่มหนังสือของงานพิมพ์

การเข้าเล่มหนังสือของงานพิมพ์ มีรูปแบบอะไรบ้าง 


การเข้าเล่มหนังสือ (Binding) หนึ่งในกระบวนการงานหลังพิมพ์ (Post Press) ที่จะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ สมุด นิตยสาร แคตตาล็อก แมกกาซีน เป็นต้น สมบูรณ์แบบ การเข้าเล่มหนังสือมีหลายวิธี แต่ที่นิยมกันจะมีดังนี้

1. การเข้าเล่มแบบไสกาว นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท นิตยสาร,แคตตาล็อกสินค้า, Photo book รายงานประจำปี และวารสาร จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การไสกาว 30 -150 หน้า หรือความหนาของสัน เริ่มต้นตั้งแต่ 0.5 มม. ความหนาของกระดาษที่นำมาเข้าเล่มปีกผีเสื้อ ตั้งแต่ 70 – 160 แกรม

2. การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บมุงหลังคา หรือการเย็บอก
การเข้าเล่มหนังสือของวิธีนี้คือ การนำกระดาษมาพับครึ่งแล้ววางซ้อนกัน (ไม่เกิน 80 หน้า) จากนั้นใช้เครื่องลวดเย็บตรงแนวพับ 2-3 ตัว แล้วแต่ความหนาของสมุด/หนังสือ นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหาร และแคตตาล็อกสินค้าจำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าหมุด 20 หน้าเป็นต้นไป ความหนาของกระดาษที่นำมาเข้าเล่มแบบเย็บหมุด ตั้งแต่ 160- 350 แกรม และต้องมีการเว้นสันเพื่อใช้ในการเข้าหมุด เริ่มจากในหน้าแรก (ปก) ควรเว้นขอบสันด้านซ้ายมือ ประมาณ 2 เซนติเมตร และในหน้าที่ 2 ถัดจากปก (รองปก) ควรเว้นขอบสันด้านขวามือ ประมาณ 2 เซนติเมตร และสลับซ้ายขวาไปเรื่อย ๆ จนถึงหน้าสุดท้าย จะจบด้วยการเว้นสันด้านขวามือ

3. การเข้าเล่มแบบเข้าห่วง
คือการเข้าเล่มโดยการ เจาะรูบนตัวงานเป็นแถวเดียวกัน เพื่อใช้ในการร้อยห่วง มีการเว้นขอบคล้าย ๆ การเข้าเล่มแบบยึดหมุด นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหาร และแคตตาล็อกสินค้าจำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าหมุด 8 หน้า เป็นต้นไป ความหนาของกระดาษที่นำมาเข้าเล่มแบบเข้าห่วง ตั้งแต่ 160- 350 แกรม

4. การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บกี่
รูปแบบนี้เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่แข็งแรง ทนทานมากที่สุด แต่ก็แพงที่สุดด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับการเข้าเล่มหนังสือที่มีจำนวนหน้าหนังสือมากๆ เช่น Dictionary พจนานุกรม สารานุกรม เป็นต้น การเข้าเล่มวิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร คือการเอากระดาษทั้งหมด มาแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ แล้วเย็บแยกกันแต่ละส่วน โดยเย็บแบบมุงหลังคา แต่เปลี่ยนจากลวดเย็บเป็นด้ายเย็บแทน จากนั้นจึงเอาเล่มย่อยๆ ที่เย็บมาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงนำปกมาหุ้มอีกชั้นหนึ่ง

5. การเข้าเล่มหนังสือแบบกาวหัว
เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่ไม่ได้เน้นความทนทานมาก นิยมใช้สำหรับสมุดฉีก กระดาษโน้ต เล่มคูปอง เป็นต้น เป็นการเข้าเล่มโดยให้ฉีกกระดาษออกไปใช้ได้ง่าย เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือที่ง่ายมาก เพียงแค่นำกระดาษมาวางซ้อนกันเป็นเล่ม จากนั้นนำกาวมาทาบริเวณสันตรงหัวกระดาษ รอให้แห้ง วิธีนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นการเข้าเล่มหนังสือแบบ “กาวหัว”


ตัวอย่างงาน


1.แบบไสกาว




2.เย็บมุงหลังคา




3.การเข้าเล่มแบบเข้าห่วง




4.เย็บกี่




5.การเข้าเล่มหนังสือแบบกาวหัว


บทความที่เกี่ยวข้อง
กว่าจะเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม
ป๊อบในฐานะที่คลุกคลีกับวงการนี้มาหลายปีก็มีประสบการณ์พอจะเล่าได้ไม่น้อย แต่สิ่งที่ป๊อบจะเล่าต่อไปนี้อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันคือ ภาพรวม นะครับ ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหน เพราะป๊อบก็ไม่ได้อยู่แค่สยามอินเตอร์ฯ แต่ป๊อบตระเวนไปหลายที่หลายแห่ง รวมทั้งยังทำหนังสือเล่มล่าสุดเองด้วย ( เอ่อ ไม่มีสำนักพิมพ์เองนะครับผม หลายคนเข้าใจผิด ป๊อบแค่ทำงานทุกอย่างและมีทีมงานเอง แต่จ้างโรงพิมพ์ต่างหากนะครับ ) ดังนั้นป๊อบจะนำประสบการณ์จากที่ต่างๆมาสรุปให้ฟังกันทุกสิ่งเริ่มขึ้นจาก...
มาตรฐานของขนาดกระดาษ
เรามาเรียนรู้มาตรฐานขนาดของกระดาษที่เราใช้พิมพ์กันทั้งในไทยและต่างประเทศกันดีกว่า
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy