แชร์

มาตรฐานของขนาดกระดาษ

อัพเดทล่าสุด: 31 ต.ค. 2024
70 ผู้เข้าชม
มาตรฐานของขนาดกระดาษ

เรามาเรียนรู้มาตรฐานขนาดของกระดาษที่เราใช้พิมพ์กันทั้งในไทยและต่างประเทศกันดีกว่า

เนื่องจากมีการใช้กระดาษกันอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษขึ้นนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการสื่อสารกัน ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน


มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216

มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ

 

มาตรฐานรหัสชุด A

มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น

 

2A1189 x 1682 mm.46.81 x 66.22 in.
A0841 x 1189 mm.33.11 x 46.81 in.
A1594 x 841 mm.23.39 x 33.11 in.
A2420 x 594 mm.16.54 x 23.39 in.
A3297 x 420 mm.11.69 x 16.54 in.
A4210 x 297 mm.8.27 x 11.69 in.
A5148 x 210 mm.5.83 x 8.27 in.
A6105 x 148 mm.4.13 x 5.83 in.
A774 x 105 mm.2.91 x 4.13 in.
A852 x 74 mm.2.05 x 2.91 in.
A937 x 52 mm.1.46 x 2.05 in.
A1026 x 37 mm. 1.02 x 1.46 in.

 


 
มาตรฐานรหัสชุด B

มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร

B01000 x 1414 mm.39.37 x 55.67 in.
B1707 x 1000 mm.27.83 x 39.37 in.
B2500 x 707 mm.19.68 x 27.83 in.
B3353 x 500 mm.13.90 x 19.68 in.
B4250 x 353 mm.9.84 x 13.90 in.
B5176 x 250 mm.6.93 x 9.84 in.
B6125 x 176 mm.4.92 x 6.93 in.
B788 x 125 mm.3.46 x 4.92 in.
B862 x 88 mm.2.44 x 3.46 in.
B944 x 62 mm.1.73 x 2.44 in.
B1031 x 44 mm.1.22 x 1.73 in.

 



มาตรฐานรหัสชุด C

รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ

 

C0917 x 1297 mm.36.10 x 51.06 in.
C1648 x 917 mm.25.51 x 36.10 in.
C2458 x 648 mm.18.03 x 25.51 in.
C3324 x 458 mm.12.76 x 18.03 in.
C4229 x 324 mm.9.02 x 12.76 in.
C5162 x 229 mm.6.38 x 9.02 in.
C6114 x 162 mm.4.49 x 6.38 in.
C781 x 114 mm.3.19 x 4.49 in.
C857 x 81 mm.2.24 x 3.19 in.
C940 x 57 mm.1.57 x 2.24 in.
C1028 x 40 mm.1.10 x 1.57 in.

 


ขนาดของหนังสือ
การกําหนดขนาดของหนังสือที่จะพิมพ์ ต้องคํานึงถึงกระดาษแผ่นใหญ่ที่ใช้พิมพ์เสมอว่าลงตัวหรือไม่ เพื่อประหยัดกระดาษหากต้องมาเจียนทิ้งโดยไม่จําเป็น
1. ขนาด 8 หน้ายก (7.1/2 x 10.1/4 นิ้ว) เป็นขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไปในการพิมพ์หนังสือเรียนเพราะใช้กระดาษ 31 x 43 นิ้ว มาตัดลงพิมพ์และพับได้ลงตัวพอดี
2. ขนาด A4 (8.1/4 x 11.3/4 นิ้ว) เป็นขนาดมาตรฐานตามที่องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศกําหนดใช้กระดาษ 24 x 35 นิ้ว พิมพ์และพับได้ลงตัวพอดี เรียกกันว่า “ขนาด 8 หน้ายกพิเศษ”
3. ขนาด 16 หน้ายก (5 x 7 นิ้ว หรือขนาด A5 หรือ A4 พับครึ่ง) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ขนาดพ๊อกเกตบุ๊ค” นิยมใช้พิมพ์คู่มือ
4. ขนาดของวารสาร นิตยสาร มักมีขนาดไม่แน่นอนอาจใช้ 8.5 x 11.5 นิ้ว จะมีขนาดใกล้เคียงกับA4


กรณีใช้กระดาษขนาด 24x35 นิ้ว
ขนาด A4 หรือ 8 หน้ายก 8.1/4 x 11.3/4 นิ้ว ขนาด นิตยสาร วารสาร รายงานประจำปีขนาด A5 หรือ 16 หน้ายก 5.3/4 x 8.1/4 นิ้ว ขนาด หนังสือวิชาการขนาด A6 หรือ 32 หน้ายก 5.3/4 x 5.3/4 นิ้วขนาดอื่นอาจเหลือเศษทำให้เปลืองกระดาษ

…หน้ายก
“…หน้ายก” จะต้องมีตัวเลขนำหน้าเสมอ เพื่อแสดงว่า หนังสือเล่มนั้นมีขนาดเท่าใด อย่างหยาบๆ
เช่น 8 หน้ายก, 16 หน้ายก, 32 หน้ายก, 64 หน้ายก ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษ และการพับ

คำอธิบายอย่างย่นย่อคือ การพิมพ์หนังสือเล่ม จะพิมพ์ลงกระดาษแผ่นใหญ่ ในแม่พิมพ์ หรือเพลท ทีละกรอบ กระดาษแต่ละแผ่นจัดหน้าจำนวนกี่หน้า ก็นับจำนวนหน้าใน 1 เพลท เป็น 1 ยก

ขนาดกระดาษแผ่นใหญ่โดยทั่วไป เช่น

24 x 35 นิ้ว
25 x 36 นิ้ว
27 x 40 นิ้ว
31 x 43 นิ้ว

เมื่อพิมพ์เสร็จ แล้วจึงพับตามที่กำหนดขนาดหนังสือไว้ตั้งแต่ต้น ว่าจะให้มีขนาดใด 8 หน้ายก (คือ ใน 1 แผ่นใหญ่ พับแล้วได้ ๘8หน้าหนังสือ) หรือ 16 หน้ายก หรือ 32 หน้ายก เมื่อพับกระดาษพิมพ์ที่เรียงหน้ากันตามลำดับแต่ละแผ่นแล้วจึงนำมารวมกันเป็นเล่ม

หนังสือที่ยังใช้วิธีโบราณ คือเย็บกี่ หรือร้อยเส้นด้าย สังเกตได้ง่ายว่ากี่หน้ายก ขนาดมาตรฐานที่ใช้ทั่วไปสำหรับหนังสือปกติ คือ    31 x 43 นิ้ว ได้ขนาดหนังสือที่เรียกว่า 16 หน้ายก แต่หากใช้กระดาษขนาด 25 x 36 นิ้ว พับอย่างเดียวกัน จะได้ขนาด 16 หน้ายกพิเศษ และกระดาษขนาด 25 x 36 นั้น อาจพับให้ได้ 32 หน้า เรียก 32 หน้ายกพิเศษ 

สำหรับท่านที่สนใจ หรืออยากสั่งงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ กล่อง แพจเกจจิ้ง ใบปลิว โบรชัวร์ และอื่นๆ อยากสอบถามราคา อยากขอไอเดีย อยากปรึกษาเรื่องกระดาษ เรื่องสี เรื่องพิมพ์ เรื่องออกแบบ  เรามีทีมงานมืออาชีพมากประสบการณ์ ตอบทุกคำถามท่านได้ในทันที ไม่ว่าท่านอยากสั่งพิมพ์กี่ชิ้น จำนวนน้อยหรือมาก เราพร้อมบริการทุกรูปแบบ เพียงท่าน ADD LINE: @INKONPAPER  หรือ  รับ QR CODE CLICK 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
กว่าจะเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม
ป๊อบในฐานะที่คลุกคลีกับวงการนี้มาหลายปีก็มีประสบการณ์พอจะเล่าได้ไม่น้อย แต่สิ่งที่ป๊อบจะเล่าต่อไปนี้อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันคือ ภาพรวม นะครับ ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหน เพราะป๊อบก็ไม่ได้อยู่แค่สยามอินเตอร์ฯ แต่ป๊อบตระเวนไปหลายที่หลายแห่ง รวมทั้งยังทำหนังสือเล่มล่าสุดเองด้วย ( เอ่อ ไม่มีสำนักพิมพ์เองนะครับผม หลายคนเข้าใจผิด ป๊อบแค่ทำงานทุกอย่างและมีทีมงานเอง แต่จ้างโรงพิมพ์ต่างหากนะครับ ) ดังนั้นป๊อบจะนำประสบการณ์จากที่ต่างๆมาสรุปให้ฟังกันทุกสิ่งเริ่มขึ้นจาก...
การเข้าเล่มหนังสือของงานพิมพ์
การเข้าเล่มหนังสือ (Binding) หนึ่งในกระบวนการงานหลังพิมพ์ (Post Press) ที่จะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ สมุด นิตยสาร แคตตาล็อก แมกกาซีน เป็นต้น สมบูรณ์แบบ การเข้าเล่มหนังสือมีหลายวิธี แต่ที่นิยมกันจะมีดังนี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy